วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำนมัสการคุณานุคุณ

1. ความเป็นมา
            แต่งขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  มีที่มามาจาก บทสวดพระพุทธคุณ ภาษาบาลี

2. ประวัติผู้แต่ง
            พระยาศรีสุนทรโวหาร นามเดิมของท่านคือ น้อย อาจารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365  เป็นชาวฉะเชิงเทราโดยกำเนิด  ท่านมีผลงานที่เด่นมากในวงการศึกษา ท่านเป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย ซึ่งในสมัยนั้น เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (โรงเรียนหลวงแห่งแรก) และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กลองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง   ท่านถึงแก่อสัญญกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2434

3. ลักษณะคำประพันธ์
            อินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑

4. คำศัพท์ยากที่ปรากฏในคำประพันธ์
            เกลศ                 กิเลสเครื่องทําใจให้เศร้าหมอง
            เกษมสานต         ชื่นชมยินดี
            เบญจพิธจักษุ      ปัญญาทั้งห้า เป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า
            วิโยค                 การจากไป การพลัดพราก
            กันดาร               ลําบาก อัตคัด
            โอฆ                  ห้วงฟ้า
            นฤพาน               ความดับกิเลส
            มละ                   ละทิ้ง
            ราคี                   ความมัวหมอง
            สุวคนธ               กลิ่นหอม
            ประณต              ไหว้

5. ถอดความคำประพันธ์
            นมัสการพระพุทธคุณ กล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบหลักธรรมในการประพฤติปฏิบัติและในการดําเนินชีวิตเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ละเว้นความชั่ว ปราศจากกิเลศทั้งปวง และชี้ทางแห่งความสุข คือ นิพพาน ที่จะทำให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
6. คุณค่าของคำประพันธ์
            การศึกษาคำประพันธ์ บทนมัสการพระพุทธคุณนี้ ทำให้ตระหนักถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ผู้ที่ค้นพบหลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์  ดับกิเลสได้ แล้วนำมาเผยแพร่ ชี้ทาให้คนทั่วไปได้ทราบในพระธรรมที่พระองค์ค้นพบ   ซึ่งเป็นความเมตตา กรุณาต่อสัตว์โลกที่พระองค์มีให้  เราจึงควรตระหนึกถึงคุณนี้ และน้อมเกล้าเคารพ บูชา ในพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

7. การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
            การกราบไหวบูชาพระพุทธ เป็นสิ่งอันสมควรอย่างยิ่ง

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น